บล.ทรีนีตี้ แนะ “ซื้อ” CKP เป้า 5.38 บาท

บล.ทรีนีตี้ คาด CKP รายได้โตกำไรงาม ไตรมาส 2 ไซยะบุรีสร้างอนาคตสดใส “ธนวัฒน์” เผยสถาบันแห่จองหุ้นกู้ล้น 2 เท่า ต้นทุนลด จัดโครงสร้างเงินกู้ใหม่ ระดม 6,500 ล้าน แบ่งคืนหนี้ 4 พันล้านบาท ซื้อหุ้นไซยะบุรี เพิ่ม 7.5%

บล.ทรีนีตี้ แนะนำให้ซื้อหุ้น ซีเค พาวเวอร์ (CKP) โรงไฟฟ้า โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ ไซยะบุรี ในลาว จะสร้างการเติบโตของบริษัทในอนาคต แนวโน้ม รายได้ไตรมาส 2 อยู่ที่ 2,231 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22% จากไตรมาสแรก จากโครงการน้ำงึม 2 สามารถกลับมาผลิตได้เต็มที่ โดย EBITDA

อย่างไรก็ดีปัจจุบันมองว่าการเริ่มเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในโครงการไซยะบุรี อาจต้องเพิ่มการพึ่งพาการก่อหนี้มากขึ้น โดยต้องเพิ่มเงินลงทุนให้กับโครงการ ราว 400 ล้านบาท รวมเป็นลงทุนทั้งสิ้นที่ราว 2,500 ล้านบาท หลังจากเพิ่งออกหุ้นกู้สำหรับโครงการน้ำงึม 2 มูลค่า 6,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้การลงทุนในโครงการอื่นเพิ่มเติมอาจต้องใช้ระยะเวลาอีกสักพัก

ทางด้านนายธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ เปิดเผยว่า นักลงทุนสถาบันยังคงให้ความสนใจซื้อหุ้นกู้ของบริษัทอย่างมากและจำหน่ายได้หมดอย่างรวดเร็ว มูลค่า 6,500 ล้านบาท โดยหุ้นกู้ชุดที่ 1 เสนอขาย 4,000 ล้านบาท อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.56% ต่อปี และหุ้นกู้ชุดที่ 2 เสนอขาย 2,500 ล้านบาท อายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.06% ต่อปี ชำระดอกเบี้ยทุกๆ 6 เดือน

การเสนอขายหุ้นกู้ในครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 2 โดยครั้งแรกเสนอไปเมื่อปี 2559 จำนวน 4,000 ล้านบาท อายุ 3 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2562 มีอัตราดอกเบี้ยที่ 4.00% ซึ่งเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก สาเหตุที่หุ้นกู้ของบริษัทฯ ได้รับความสนใจจากนักลงทุนสถาบันทั้งสองครั้ง เพราะความเชื่อมั่นที่นักลงทุนมีต่อศักยภาพและธุรกิจของบริษัทฯ ที่มีอนาคตที่สดใสและคุ้มค่าแก่การลงทุน รวมถึงการให้อัตราผลตอบแทนที่เหมาะสม ทำให้มียอดจองมากเกินกว่าสองเท่า ทั้งๆ ที่อัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้ในครั้งที่สองต่ำลงกว่าครั้งแรกถึง 1.44% ก็ตาม”

การเสนอขายหุ้นกู้ครั้งนี้ บริษัท ทริสเรทติ้ง จัดอันดับความน่าเชื่อถือขององค์กรที่ระดับ “A” แนวโน้มอันดับเครดิต”คงที่” และอันดับเครดิตของตราสารหนี้ ที่ระดับ “A-” แนวโน้มอันดับเครดิต”คงที่”

นายธนวัฒน์ กล่าวว่า บริษัทฯ จะนำเงินที่ได้จากการออกและเสนอขายหุ้นกู้ในครั้งนี้ เพื่อนำไปไถ่ถอนหุ้นกู้ที่เสนอขายในครั้งแรกก่อนกำหนด ทั้งจำนวน 4,000 ล้านบาท ส่วนอีก 2,500 ล้านบาท จะนำไปซื้อหุ้นในบริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ (XPCL) จากบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เป็นผลให้สัดส่วนที่ CKP ถือหุ้น XPCL เพิ่มจาก 30.00% เป็น 37.50%

นอกจากนี้ การออกหุ้นกู้ดังกล่าว ทำให้ต้นทุนการเงินถัวเฉลี่ยโดยรวมของบริษัทฯ ต่ำกว่า 4.00% และยังทำให้บริษัทฯ สามารถบริหารจัดการกระแสเงินสดในอนาคตได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ได้ปรับเงินกู้ให้มีอัตราดอกเบี้ยคงที่และอัตราดอกเบี้ยลอยตัวสัดส่วน 50:50 เพื่อลดความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยอีกด้วย