บลจ.วี ชี้อุตฯ เฮลท์แคร์เติบโตแข็งแกร่ง เปิดขายกองทุน WE-GIHEALTH

HoonSmart.com>> บลจ.วี มองอุตสาหกรรมสุขภาพแนวโน้มเติบโตสูง กลุ่ม Biotechnology และ Medical Device Technology พื้นฐานเติบโตแข็งแกร่ง รับแนวโน้มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ความต้องการเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธภาพ เปิดขาย IPO กองทุน วี โกลบอล อินโนเวทีฟ เฮลท์แคร์ (WE-GIHEALTH) วันที่ 20–27 พ.ค.63 ชี้ระดับราคาน่าสนใจ โอกาสสร้างผลตอบแทนระยะยาว

อิศรา พุฒตาลศรี

นายอิศรา พุฒตาลศรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) วี จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันการดำเนินชีวิตและปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงทำให้อัตราการเกิดโรคต่างๆ เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายทางด้านการรักษาและดูแลสุขภาพปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่แนวโน้มสัดส่วนประชากรสูงอายุมีมากขึ้นทั่วโลก ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่มีค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลที่สูงมาก ทำให้กลุ่มบริษัทด้านการดูสุขภาพ (Healthcare) มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมเฮลท์แคร์ ถือเป็นกลุ่มหุ้นที่สำคัญในการลงทุนทั่วโลก มีสัดส่วนถึง 13% ของมูลค่าตลาดทั้งโลก หรือเป็นมูลค่าประมาณ 11 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ

ขณะเดียวกัน จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ช่วยให้การวิฉัยโรคมีความแม่นยำ ทำให้คาดว่ากลุ่มอุตสาหกรรมเฮลท์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) และกลุ่มผู้ผลิตเทคโนโลยีอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ (Medical Device Technology) จะเติบโตเติบโตได้ดีในอนาคต เพราะเป็นกลุ่มที่สามารถตอบสนองความต้องการด้านประสิทธิภาพการรักษาได้ดีและมีต้นทุนการดำเนินงานที่ถูกลง

กลุ่ม Biotechnology ปัจจุบันเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญของการแพทย์ยุคใหม่ จากการศึกษาและพัฒนาด้านชีววิทยาของมนุษย์ ในระดับที่ซับซ้อนทำให้เกิดการรักษาทางการแพทย์และพัฒนายาชนิดใหม่ๆที่เฉพาะเจาะจงและเหมาะกับยีนแต่ละบุคคล ขณะเดียวกันการเกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ ส่งผลบวกต่อการอุตสาหกรรมการแพทย์ในกลุ่ม Medical device ที่ต่อยอดไปสู่การรองรับงานด้านต่างๆ เช่น การบริหารจัดการงานโรงพยาบาล , การรับบริการทางการแพทย์ , การเข้าถึงข้อมูลการเข้ารับการรักษาจากทุกที่ทุกเวลา , การรักษาที่แม่นยำตรงต่อตัวบุคคลและรวดเร็วทันต่อเวลา ทำให้กลุ่ม Biotechnology และ Medical Device เป็นกลุ่มที่น่าสนใจลงทุนจากการเติบโตของความต้องการผู้บริโภคทั้งในกลุ่มผู้ให้การรักษาและผู้รับการรักษา

นอกจากนี้ ในแง่การลงทุน กลุ่ม Biotechnology และ Medical Device มีอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS Growth) สม่ำเสมอต่อเนื่อง ทั้งนี้ในช่วงปี 1999-2019 หุ้นกลุ่ม Biotech มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยของกำไรต่อหุ้น (EPS) ประมาณ 6% ต่อปี และกลุ่ม Meditech มีการเติบโตประมาณ 10% ต่อปี ทำให้หุ้นทั้ง 2 กลุ่มนี้มีลักษณะเป็นหุ้นที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง มีความเสี่ยงต่ำ (Defensive) ปัจจุบันที่ระดับราคาหุ้นที่ปรับตัวลงมาจากความกังวลเรื่องการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯที่จะมีผลต่อเรื่องนโยบาย “Medicare for All” ทำให้ Valuation หุ้นใน 2 กลุ่มนี้มีความน่าสนใจ

บลจ.วี มีมุมมองว่าปัจจัยพื้นฐานการเติบโตของหุ้นกลุ่มดังกล่าวยังแข็งแกร่ง จึงเปิดเสนอขายครั้งแรก (IPO) กองทุนเปิด วี โกลบอล อินโนเวทีฟ เฮลท์แคร์ (WE-GIHEALTH) ระหว่างวันที่ 20 – 27 พ.ค.2563 เน้นลงทุนในหุ้นกลุ่ม Biotechnology และ Medical Device Technology ซึ่งเป็นกลุ่มผู้นำด้านอุตสาหกรรมสุขภาพยุคใหม่ (Next Generation of Healthcare Leader) ทั่วโลก ผ่านกองทุนหลัก Polar Capital Funds ที่เชี่ยวชาญในด้าน Biotechnology ในสัดส่วน 50% และลงทุนผ่านกองทุนหลัก MIV Asset Management ที่เชี่ยวชาญในด้าน MEDICAL DEVICE TECHNOLOGY ในสัดส่วน 50%

กองทุน WE-GIHEALTH จะเน้นลงทุนเชิงรุกด้วยการกระจายลงทุน (Active Asset Allocation) ในกลุ่มอุตสาหกรรมเฮลท์แคร์ ที่มีการเติบโตสูงจากปัจจัยพื้นฐานความต้องการในอนาคต ได้แก่ 1. แนวโน้มประชากรเข้าสู่วัยผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น 2. การเพิ่มขึ้นและเติบโตอย่างต่อเนื่องด้านค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ 3. ความต้องการเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

“การระบาด ของ COVID-19 ที่เกิดขึ้นและคาดว่าจะอยู่กับเราไปอีกระยะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่บ่งบอกว่า อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพจะมีแนวโน้มเติบโตจากความต้องการใช้บริการมากขึ้น เป็นจังหวะที่ดีสำหรับการลงทุนในกลุ่มธุรกิจไปพร้อมๆกับการดูแลด้านสุขภาพของเรา บลจ.วี ขอแนะนำกองทุน WE-GIHEALTH สำหรับนักลงทุนที่กำลังมองหาการลงทุนในหุ้นต่างประเทศที่มีปัจจัยพื้นฐานสนับสนุนการเติบโตชัดเจนเพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว” นายอิศรา กล่าว

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมพร้อมรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วี จำกัด หรือตัวแทนซื้อขายหน่วยลงทุน ได้แก่ บล.เคทีบี (ประเทศไทย), บล.หยวนต้า , บล.โนมูระพัฒนสิน, บลน.ฟินโนมินา, บล. กรุงศรี และ บลน. เวลท์ รีพับบลิค