ความจริงความคิด : ประกันสุขภาพเรา vs ประกันสุขภาพพ่อแม่

โดย…สาธิต บวรสันติสุทธิ์, CFP นักวางแผนการเงิน

เกิด แก่ เจ็บ ตาย ความจริงอันประเสริฐที่ไม่มีใครหนีพ้น แต่ไม่ได้หมายความว่า เราไม่สามารถบริหารความแก่ ความเจ็บ ความตาย ได้ แต่สำคัญ คือ เราจะบริหารอย่างไร กูรูท่านหนึ่งที่ตอบเรื่องนี้ได้ดี คือ
คุณไชย ไชยวรรณ คือกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ผมเคยอ่านบทสัมภาษณ์ของท่านทีนึงนานมาแล้ว ท่านบอกว่า

“คนเราต้องวางแผนการเงิน เพราะเมื่อเรา เกิด เราต้องแก่ เราต้องเจ็บ เราต้องตาย หนีไม่พ้น เมื่อเราแก่ เราจะเป็นอย่างไร จะแก้อย่างไร เมื่อเราเจ็บ เราจะเป็นอย่างไร เราจะแก้อย่างไร และเมื่อเราตาย ครอบครัวเราจะเป็นอย่างไร เราจะแก้อย่างไร ทั้งหมดนี้สามารถบริหารจัดการได้ด้วยการวางแผนการเงิน”

ยิ่งในประเทศไทยตอนนี้ หลายๆคนเครียดกับปัญหาเศรษฐกิจจากโควิดที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ คนตกงานมากขึ้น ธุรกิจปิดตัวมากขื้น จนหลายคนลืมนึกถึงปัญหาสุขภาพที่คนไทยเจอกันทุกวัน

ปัจจุบันสถิติการเสียชีวิตของคนไทย ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 5 กลุ่มโรคร้ายแรง กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มโรคร้ายแรงที่มีผู้ป่วยอยู่ในระดับสูง ได้แก่

กลุ่มโรคมะเร็ง
โรคหัวใจ
โรคปอด
โรคหลอดเลือดในสมอง
โรคเบาหวาน

ทั้งนี้จากสถิติการเสียชีวิต ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDB) พบว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2537 – 2560 อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งและเนื้องอกทุกชนิดของคนไทยเป็นสาเหตุอันดับ 1 โดยในปี พ.ศ. 2537 โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย 48.9 คน ต่อประชากร 100,000 คน และเพิ่มขึ้นเป็น 120.5 คน หรือเกือบ 3 เท่าตัว ในปี พ.ศ. 2560 เช่นเดียวกับกลุ่มโรคร้ายแรงอื่นๆ ที่อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยอัตราการเสียชีวิตของคนไทยจากกลุ่มโรคปอดเพิ่มขึ้นจาก 13.8 คน เป็น 45.3 คน ยังไม่นับรวมกรณี PM2.5 ซึ่งเกิดในปีสองปีที่ผ่านมา

(PM 2.5 เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 5 ของประชากรโลกในปี 2558 องค์การอนามัยโลกประกาศในปี 2559 ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศ 7 ล้านคน ซึ่ง 91% เกิดในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกฉียงใต้และแปซิฟิกตะวันตก…ที่มา สสส.) นอกจากนี้จำนวนคนที่เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดในสมองและเบาหวานก็เพิ่มขึ้นเช่นกันจาก 10.6 คน และ 7.2 คน ในปี พ.ศ. 2537 เป็น 47.8 คน และ 22 คน ในปีพ.ศ.2560 ตามลำดับ ต่อประชากร 100,000 คน ไม่เพียงเท่านี้ เมื่อมาดูค่ารักษาพยาบาลในกลุ่มโรคร้ายแรงต่างๆ จะพบว่าค่ารักษาพยาบาลอยู่ในระดับที่สูงมากทุกกลุ่มโรค

เมื่อแนวโน้มอัตราการเสียชีวิตจากโรคร้ายแรงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง กับค่ารักษาพยาบาลที่อยู่ในระดับสูงมาก ถ้าเราไม่วางแผนชีวิตดีๆ หรือ คิดว่าสุขภาพแข็งแรง ก็ถือว่าประมาทอย่างยิ่ง

โชคดีที่เราอยู่ในประเทศไทยมีสวัสดิการรักษาพยาบาลจากประกันสังคม สิทธิบัตรทอง หรือ สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่รัฐบาลจัดให้คนไทยทุกคนตั้งแต่แรกเกิดและตลอดช่วงชีวิตช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลได้มากทีเดียว แต่ถ้าใครต้องการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชนที่แพงๆ ก็ต้องซื้อประกันสุขภาพของตนเอง

เพื่อสนับสนุนให้คนไทยสร้างสวัสดิการสุขภาพของตนเอง กรมสรรพากรก็ให้สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับเบี้ยประกันสุขภาพทั้งของตนเอง และ พ่อแม่ โดยประกันสุขภาพที่ลดหย่อนภาษีได้ต้องมีลักษณะดังนี้

(1) การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะ เนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ
(2) การประกันภัยอุบัติเหตุเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก
(3) การประกันภัยโรคร้ายแรง (Critical Illnesses)
(4) การประกันภัยการดูแลระยะยาว (Long Term Care)

ส่วนเงื่อนไขข้อแตกต่างระหว่างการใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพของตนเอง กับ พ่อแม่ มีดังนี้