“AIMSPIRE” ธุรกิจหาคู่ เชื่อมต่อองค์กร-สตาร์ทอัพ

ยุคไทยแลนด์ 4.0 การอยู่ลำพังโดด ๆ ไม่มีพันธมิตร เครือข่าย ไม่มีเทคโนโลยี จะอยู่ลำบาก และหากต้องนับ 1 เริ่มต้นทำอะไรสักอย่าง นอกจากต้องเสียเวลาแล้ว ยังทำให้มีต้นทุนที่สูง จนหลายครั้งพบว่า องค์กรนั้น ไม่สามารถไปถึงเป้าหมายอย่างที่คิดไว้ การมีเพื่อนคู่คิดทางธุรกิจ เข้ามาช่วยต่อยอด ถือว่าช่วยลดเวลาไปได้ครึ่งทาง ที่สำคัญสามารถทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด บนเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ

“AIMSPIRE” จึงกำเนิดมา เพื่อตอบโจทย์กับสิ่งนี้ !!!!

นางสาวอรพิมพ์ เหลืองอ่อน กรรมการผู้จัดการ บริษัท AIMSPIRE ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ www.hoonsmart.com ว่า บริษัท เอมสไปร์ มีแรงบันดาลใจ และต้องการสร้างแรงบันดาลใจ ให้กับ START UP ( สตาร์ทอัพ ) โดยเธอและเอมสไปร์ จะคอยบ่มเพาะสตาร์ทอัพ ที่มีเทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อขยายไปต่อยอดให้กับองค์กรขนาดใหญ่ ผสมผสานสิ่งที่ขาด กับสิ่งที่มี ให้เข้ากันด้วยดี

หน้าที่ของ เอมสไปร์ คือ การเป็น Mentor หรือที่ปรึกษา เป็นโค้ชให้คำแนะนำกับสตาร์ทอัพ ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มีกว่า 2,000 ราย

แรงบันดาลใจของ “อรพิมพ์” เกิดขึ้นจากการอยู่องค์กรขนาดใหญ่ของเธอ ทำให้เห็นความยากในการขับเคลื่อนไปข้างหน้าขององค์กรขนาดใหญ่ กระทั่งได้ไปเป็นผู้บริหารในบริษัท สตาร์ทอัพแห่งหนึ่ง ได้เห็นความคล่องตัวในการดำเนินงาน สามารถระดมทุนจำนวน 7 พันล้านบาท ได้อย่างเร็วรวด ในบริษัท ดีดี พร็อพเพอร์ตี้ ของสิงคโปร์ เป็นจุดเปิดมุมมองมิติใหม่ของเธอ

ก้าวแรกที่เข้าไปเป็น Mentor พบว่า สิ่งที่มีของ สตาร์ทอัพ และเป็นจุดเด่นคือ เป็นบริษัทที่มีเทคโนโลยี หรือ นวัตกรรมใหม่ ๆ แต่ขาดประสบการณ์และการเติบโต ขาดความเข้าใจผู้บริโภค

ขณะที่กิจการและองค์กรขนาดใหญ่ การขยายโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ ใช้เวลา หานวัตกรรม การทำเอง ต้องตั้งแผนกใหม่ มีความรู้หลากหลาย แต่จุดเด่นคือ องค์กรณ์ขนาดใหญ่ จะมีความรู้การตลาด การบริโภค ซึ่งเป็นสิ่งที่สตาร์ทอัพขาด

เมื่อ “เอมสไปร์ ” เป็นแม่สื่อ เชื่อมต่อสานสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ขาดของ “องค์กร” กับสิ่งที่มีของ “สตาร์ทอัพ” เข้าด้วยกัน คอยดูแลทั้ง 2 ฝ่าย เป็นมากกว่าการจับคู่ให้เจอกันของ องค์กรกับสตาร์ทอัพ ทำให้โปรเจค “ทิปโก้ คอนเน็กซ์ ” เกิดขึ้น ได้นวัตกรรมใหม่ ๆ ผลิตสินค้าโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ ได้ ภายในระยะเวลาสั้น ๆ

อรพิมพ์ กล่าวว่า แนวโน้มสตาร์ทอัพ ที่กำลังมาแรง คือ นวัตกรรมเฮลเทค ซึ่งเป็นเทคโนโลยีด้านสุขภาพไม่มีความซับซ้อนมาก ส่วน DEEPTACH ซึ่งเป็นวัตกรรมที่ซับซ้อนไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อยู่ในช่วงการทดลองของสตาร์ทอัพแห่งหนึ่ง เป็น ดีฟเทค ประเภทตรวจเซลมะเร็งด้วยการเจาะเลือดมาทดสอบ และดีฟเทค สำหรับเส้นเลือดสมอง อยู่ระหว่างคิดค้นเครื่องมือเพื่อใช้ตรวจที่บ้านเหมือนเครื่องวัดความดัน

นอกจากนี้ยังมีรีเทค เทค สำหรับชีวิตประจำวัน เช่น นวัตกรรมในการซื้อของ อินชัวร์เทค นวัตกรรมสำหรับประกัน และฟู้ดส์เทค นวัตกรรมสำหรับอาหาร การบริโภค

“หน้าที่ของเอมสไปร์ คือ การบ่มเพาะสตาร์ทอัพที่มีอนาคตเติบโตได้ ทีมผู้ก่อตั้งมีคุณภาพสามารถนำพาให้ทีมเติบโต มีนวัตกรรมหรือเทคโนโยลีเติบโตได้ดี เป็นคุณสมบัติของสตาร์ทอัพ ที่บริษัทต่างชาติต้องการเข้ามาเจาะตลาดเมืองไทย เพราะต่างชาติ เข้าไม่ถึงช่องการขาย การเชื่อมต่อในช่วง 3 ปีที่ผ่านมากว่า 10 ราย ประสบความสำเร็จ ช่วยให้องค์กรใหญ่ ๆ เพิ่มโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ ในช่วงเวลาสั้น ๆ ลดเวลาและต้นทุน ได้อย่างดี ” อรพิมพ์ กล่าว