เปิดผลงาน CPT : กำไรลดฮวบต่อเนื่อง ดิ้นทำลีสซิ่ง ดึงรายใหญ่ “เสี่ยอีซูซุ” ช่วย

ตะลึง !!! เปิดผลดำเนินงาน บริษัท CPT ยิ่งทำกำไรยิ่งลด เข้าตลาดหุ้นไม่ถึงปี “สมศักดิ์ หลิมประเสริฐ” ผู้บริหารลดสัดส่วนหุ้นเหลือ 12 % จาก 14 % ดิ้นทำลีสซิ่ง ดึง “เสี่ยรายใหญ่-จิรวุฒิ คุวานันท์” เอเย่นต์รายใหญ่ “อีซูซุ” ภาคอีสาน ช่วยเพิ่มทุน

เปิดผลประกอบการบริษัท ซีพีทีไดร์ แอนด์ เพาเวอร์ (CPT) ผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายตู้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า และระบบควบคุมไฟฟ้าที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ติดตั้งตู้ไฟฟ้า เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2560 รวมระยะเวลาเพียง 1 ปี 2 เดือนเศษเท่านั้น ราคาเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก ( IPO ) ราคาหุ้นละ 2.30 บาท โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย ) เป็นที่ปรึกษาการเงิน

สมศักดิ์ หลิมประเสริฐ

วันแรกที่หุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ปรากฎว่าราคาหุ้นต่ำจองทันที !!!! เกิดอะไรขึ้นกับหุ้นตัวนี้ ถือเป็น IPO ผู้นำที่ราคาหุ้นต่ำจองวันแรก

วันที่ 19 ธ.ค. 2560 ก่อนหุ้นเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ 1 วัน บริษัท แจ้งผลประกอบการโชว์กำไรสุทธิปี 2559 กำไรสุทธิ 113 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.36 บาท ขณะที่ปี 2558 กำไร 85.51 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.27 บาท

ไตรมาส 3/2560 กำไร 55.70 ล้านบาท (35.61 ล้านบาท/ 2559 ) งวด 9 เดือน กำไร 85.64 ล้านบาท ( 52 ล้านบาท/2559 ) โดยรวมแล้วกำไรปี 59 และ 9 เดือน/2560 กำไรโตขึ้นเทียบกับปี 2559 รวมทั้งปี 2560 กำไรสุทธิ 140.70 ล้านบาท ดีขึ้นจากปี 2559 ที่มีกำไร 113 ล้านบาท

ที่น่าตกใจอย่างมากก็คือ ปี 2561 กำไรสุทธิ 14.30 ล้านบาท เทียบกับปี 2560 ที่มีกำไรสุทธิ 140.70 ล้านบาท กำไรลดลง 126 ล้านบาท หรือ 89 %

ปี 2561 หากเทียบรายไตรมาสแล้ว พบว่า ไตรมาส 1 กำไรสุทธิเพียง 1.03 ล้านบาท ช่วงเดียวกันปี 2560 กำไร 24 ล้านบาท ลดลง 23.14 ล้านบาท หรือ 95.7 % , ไตรมาส 2/2561 กำไร 14.27 ล้านบาท ดีขึ้นจากช่วงเดียวกันที่มีกำไร 5.76 ล้านนบาท และไตรมาส 3/2561 กำไร 1.14 ล้านบา ลดลง 54.56 ล้านบาท หรือ 98 %

หากดูธุรกิจของ CPT แล้วคล้ายกับ อาซีฟา ( ASEFA ) มาก แต่ผลประกอบการเทียบกับไม่ได้ แต่ละปี ASEFA กำไรไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท ปี 2561 ที่ผ่านมา กำไร 285 ล้านบาท

เห็นได้ว่า ผลประกอบการตั้งแต่ก่อนเข้าตลาดและหลังจากเข้าตลาดหุ้นเพียง 1 ปีเศษนั้น กำไรสุทธิลดลงต่อเนื่อง จากปี 2559 ที่มีกำไรสุทธิ 121 ล้านบาท ปี 2560 กำไร 140.70 ล้านบาท และ ปี 2561 กำไรสุทธิเหลือเพียง 14.30 ล้านบาท เท่านั้น หากดูผลดำเนินงานแล้ว พบว่า กำไรสุทธิที่ลดลง ๆ อย่างมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ( 2559-2561 ) ลดลง 106.70 บาท หรือ 87 % เป็นเหตุให้ CPT ต้องเพิ่มทุนครั้งใหญ่อีก 177.50 ล้านบาท จากทุนเดิม 450 ล้านบาท เป็นทุนใหม่ 627.50 ล้านบาท ดิ้นไปทำธุรกิจลีสซิ่ง แตกไลน์จากธุรกิจเดิมอย่างสิ้นเชิง หรือเตรียมขายทิ้งกิจการ ??? ผลิตและจำหน่ายตู้ไฟฟ้า

จิรวุฒิ คุวานันท์

การเพิ่มทุนรอบนี้ 177.50 ล้านบาท โดยออกหุ้นใหม่ 355 ล้านหุ้น แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ขายเฉพาะเจาะจง ( PP ) 90 ล้านหุ้น , 180 ล้านหุ้นขายผู้ถือหุ้นเดิม และอีก 85 ล้านหุ้น รองรับการแปลงวอร์แรนต์ ( PP-W ) ที่ยกประเคนขายให้ เสี่ยเอเยนต์ใหญ่รถยนต์ อีซูซุ ภาคอีกสาน ” จิรวุฒิ คุวานันท์” หรือพี่ใหญ่ ของตลาดหุ้น ที่เข้าลงทุนหุ้นมาแล้วหลายตัว และที่เข้าเทคโอเวอร์ DIGI อีก 1 บริษัทเมื่อต้นปี

ไม่ต้องถามทำไม เพราะอะไร ยิ่งทำกำไรยิ่งลด จนต้องเพิ่มทุนดึง “เสี่ยใหญ่-จิรวุฒิ” มาร่วมหอจมท้ายด้วย เพราะ ” สมศักดิ์ หลิมประเสริฐ” ผู้ถือหุ้นใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไม่ยอมแม้กระทั่งปริปากพูด พูดเป็นคำเดียว “ติดประชุม” ทุกเวลา

ว่ากันว่า เสี่ยรายใหญ่ “จิรวุฒิ” มีธุรกิจสตาร์ทอัพ ที่มีแผนใส่เข้าไปใน DIGI และธุรกิจลีสซิ่ง ที่ปล่อยให้กับค่ายรถยนต์ การเข้ามาถือช่วยอุ้มซื้อ PP-W ครั้งหรือ หากมีการใช้สิทธิครบ จะถือหุ้นเกือบ 10 % คาดเดากันว่าน่าจะนำธุรกิจลีสซิ่งใส่เข้ามาให้ CPT ที่ดิ้นจะทำลีสซิ่ง แม้ว่าไม่ได้รับการยืนยันจากปากของ “พี่ใหญ่” ว่าจะเทคโอเวอร์ CPT อีกบริษัทเพื่อใส่ธุรกิจลีสซิ่ง เข้าตลาดทางอ้อม แต่คนใกล้ตัว “พี่ใหญ่” ยืนยันแค่เข้ามาช่วยถือหุ้น หากจะทำลีสซิ่ง ต้องทำใหญ่กว่าที่ CPT ทำ

เบื้องต้นแค่ถือ ไม่ถึง 10 % อนาคตไม่แน่นอน จาก 10 เป็น 100 ก็มีตัวอย่างให้เห็นใน DIGI คนนิสัยรวมอย่าง “พี่ใหญ่” บัดดี้คู่ใจ “เสี่ยขุน” ทำอะไรก็ได้ ตราบใดที่มีเงิน