“วิทัย รัตนากร” เลขาธิการ กบข. “ผู้นำต้องคิดไม่เหมือนคนอื่น”

“วิทัย รัตนากร” เลขาธิการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ศิษย์เก่าที่กลับมาแก้ไขปัญหาในองค์กรแห่งนี้ พร้อมกับสร้างความเติบโตให้กบข.อีกครั้งในวันที่ใกล้ครบการทำงาน 1 ปีวันที่ 17 เม.ย.นี้ การเป็น “ผู้นำที่คิดไม่เหมือนคนอื่น” ทำให้แบงก์อิสลาม ในวันนี้ พลิกฟื้นกลับขึ้นมาได้ในเวลาสั้น ๆ ไม่ถึง 6 เดือน ที่ “วิทัย” ถูกส่งข้ามห้วยจากแบงก์ออมสิน เป็นไปฟื้นฟูแบงก์อิสลาม “วิทัย” ถือเป็นคนแรกและครั้งแรกที่มีการยืมตัวข้ามรัฐวิสาหกิจ

วิทัย รัตนากร

“วิทัย” เป็นใคร ???? เขาเป็นลูกชายของ ศิริลักษณ์ รัตนากร กรรมการผู้จัดการ (เอ็มดี ) หญิงคนแรกของตลาดหลักทรัพย์ ในยุคปี 2525 และเป็นลูกชายของ โสภณ รัตนากร อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม

“วิทัย” ขณะกำลังศึกษาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จังหวะที่คุณแม่เป็นเอ็มดีตลาด เป็นโอกาสให้ “วิทัย” ได้ฝึกงานที่บริษัทหลักทรัพย์ ไทยค้า เรียนรู้งานด้านการลงทุน งานวิจัย-วิเคราะห์หลักทรัพย์ กระทั่งปี 2535 เข้าทำงานที่บล.ภัทร หน่วยงานวิจัย

ด้วยความที่ “วิทัย” สนใจการลงทุนในหุ้น ใครจะเชื่อว่า จบปริญญาตรีเข้ามีเงินก้อนจากการลงทุน 7 หลัก

จากงานวิจัย บล.ภัทร “วิทัย” ได้ร่วมงานกับก.บ.ข เป็นผู้บริหารกองทุน งานหลักคือ การลงทุนในสินทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น อาคาร สำนักงาน ซึ่งหลาย ๆ อาคาร เป็นฝีมือการเลือกซื้อของเขา และบางชิ้นกบข. ขายทำกำไรไม่น้อย

ช่วงแรกของการทำงานกับกบข. มีเทอม 3 ปี ฝีไม้ลายมือการบริหาร เข้าตากองทุนต่างชาติ ที่กำลังมองหาโอกาสการลงทุนในนกแอร์ ( NOK ) และให้ “วิทัย” เข้าไปช่วยฟื้นฟูบริหารในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน ( CFO ) โดยมีแผนนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นด้วยหลังจากลงทุนแล้ว 2 ปี

เรียกได้ว่า ยุคของ”วิทัย” ในการบริหาร NOK เป็นยุคที่รุ่งเรืองสุดของ NOK กำไร 1,700 ล้านบาท เป็นสายการบินที่ทำกำไรได้มากกว่าสายการบินอื่น และเข้าตลาดหลักทรัพย์ 20 มิ.ย. 2556 จากนั้น

“วิทัย” บอกว่า การบริหารจัดการธุรกิจสายการบินโลว์ครอส ชนะได้ อยู่ที่การ “คุมต้นทุน” นอกเหนือจากน้ำมันและอัตราแลกเปลี่ยน ส่วน การบริหารก.บ.ข. ชนะได้ ” ต้องชนะใจลูกค้า (ข้าราชการ )

เมื่อส่ง NOK เข้าตลาดหุ้นความสำเร็จลุล่วงแล้ว “วิทัย” ถูกดึงตัวไปรับตำแหน่ง CFO ในธนาคารออมสิน และถูกยืมตัวไปฟื้นฟูธนาคารอิสลาม (IBANK ) เป็นเอ็มดีแบงก์คนที่ 5 ยุคที่ IBANK เป็น 1 ใน 7 รัฐวิสาหกิจ ที่วิกฤต มีหนี้เสีย 80 % ของสินเชื่อ

ช่วงเวลาสั้น ๆ เพียง 6 เดือนใน IBANK ( ต.ค.2556- มี.ค. 2560 ) ที่เสียหายมา 5 ปี ขาดผู้นำ ฐานะง่อนแง่นต้องฟื้นฟู “วิทัย” ใช้เวลาไม่มากนัก 1.ดึงพนักงานกลับมาช่วยงาน 2. ปรับโครงสร้างหนี้ เร่งแก้ไขหนี้ที่เหลือ โดยเฉพาะหนี้รายย่อย 3 จังหวัดภาคใต้ จำนวนหลายพันล้านบาทหลายแสนคน เรียกหนี้กลับมา แก้หนี้รายใหญ่ที่เหลือ และ 3 การบริหารต้นทุนการเงิน

” การขาดทุนของไอแบงก์คือ รายได้ไม่เข้า ธุรกิจไม่มา เมื่อบริหารหนี้เสียรายย่อยภาคใต้สำเร็จ มีกำไรกลับมาหลายร้อยล้านบาท ตั้งแต่ 1 ม.ค.ปี 2561 หรือเพียง 3 เดือนที่ฟื้นฟู เป็นการทำงานที่ยากมาก ซึ่งผมชอบทำงานยาก การเป็นผู้นำต้องคิดไม่เหมือนคนอื่น และ
โชคดีที่ผมมีโชคดีเจอผู้ใหญ่มาก ได้เรียนรู้จากผู้ใหญ่ ”

เมื่อฟื้นฟูกระทั่ง IBANK เริ่มแข็งแรง ยืนได้แล้ว จังหวะที่ กบข.เปิดรับสมัครเลขาธิการ “วิทัย” ต้องการกลับบ้านที่เคยอยู่มา 8 ปี มาแก้ปัญหาองค์กร ปรับการบริหารเงินสมาชิกให้ตรงความวัตถุประสงค์ของลูกค้า ตามลักษณะความเสี่ยงและความต้องการใช้เงินหลังเกษียณ

“วิทัย” วางเป้าหมายการทำงานที่ กบข.กับการบริหารเงินออมยามเกษียณอย่างเพียงพอ ของสมาชิกข้าราชการกว่า 1 ล้านคน เกือบ ล้านล้านบาท ให้มีผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อ ให้ความรู้-สวัสดิการที่ดีกับสมาชิกโดยตรงไม่ผ่านคนกลาง

” การบริหารความเสี่ยง 18 สินทรัพย์ มีเป้าหมายได้ผลตอบแทนสม่ำเสมอระยะยาว ซึ่งปี 2561 ผลตอบแทนสุทธิ 0.2 % ต้นปี 2562 เดือนแรกได้ 1 % เป้าหมายกลาง ๆ ผลตอบแทนต้องชนะเงินเฟ้อ ให้สมาชิกมีเงินออมยามเกษียณที่พอเพียง”

เมื่อเป้าหมายของ “วิทัย” ที่จะให้สมาชิก มีเงินออมใช้จ่ายที่เพียงพอตอนเกษียณแล้ว ก.บ.ข. จึงเป็นผู้นำดูแลสังคมสูงวัย ที่ใส่ใจสมาชิกตลอดเวลา สมาชิกก.บ.ข. ไม่ต้องรอเกษียณ สามารถดูความมั่งคงได้จาก “ดัชนีวัดความมั่นคง ” ที่ก.บ.ข.จัดให้สมาชิกเข้าไปตรวจสอบ อนาคตมีแผนขยายให้บริการกับประชากรของประเทศ