TMB ไตรมาส 2 กำไร 1,917 ล้าน ลด 5.38 %

HoonSmart.com>>TMB ไตรมาส 2/62 กำไร 1,917 ล้านบาท ลดลงกว่า 100 ล้านบาท หรือ 5.38 % ครึ่งปีกำไร 3,496 ล้านบาท ลดลง 19 % เทียบช่วงเดียวกันปี 61

ธนาคารทหารไทย (TMB) รายงานผลประกอบการไตรมาส 2 / 2562 ก่อนสอบทาน สิ้นสุด 30 มิ.ย. กำไรสุทธิ 1,917.31 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.0437 บาท ลดลง 109 ล้านบาท หรือ 5.38 % เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน กำไรสุทธิ 2,026.25 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.462 บาท

งวด 6 เดือน กำไรสุทธิ 3,496.15 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.07 บาท ลดลง 810 ล้านบาท หรือ 19 % เทียบช่วงเดียวกัน กำไร 4,306 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.098 บาท

ธนาคาร ฯ สรุปผลดำเนินงาน ยังขยายฐานลูกค้าเงินฝากต่อเนื่อง ด้วยแนวคิด  “Get MORE with TMB” และเน้นการเติบโตทางธุรกิจ ซึ่ง่ไตรมาส 2 ผลดำเนินงานดีขึ้น สะท้อนความสามารถการสร้างรายได้ และประสิทธิภาพดำเนินงานมีแนวโน้มพื้นตัวที่ดี รายได้ดอกเบี้ย มีแนวโน้มขยายตัวดี รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย เติบโตได้ดีเช่นกัน ค่าใช้จ่ายดำเนินงานมีการบริหารจัดการที่ดี ส่งผลให้กำไรจากการดำเนินงาน ก่อนหักสำรอง (PPOP) เพิ่มขึ้น 24.5 % จากไตรมาสแรก / 62

ธนาคาร ฯ ตั้งสำรอง ฯ สูงขึ้น เพื่อปรับปรุงคุณภาพพอร์ตสินเชื่อ ส่งผลให้ Coverage ratio อยูที่ 140 % และอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ อยู่ที่ 2.74 %

เงินฝากลูกค้ารายย่อย เติบโตต่อเนื่องจากสิ้นปี 2561 หนุนโดยผลิตภัณฑ์เงินฝากหลัก ซึ่ง TMB ใช้เงินฝากเป็นกลยุทธ์นำ และปรับปรุงประสบการณ์ทางการเงินให้ลูกค้าต่อเนื่องผลิตภัณฑ์เงินฝากหลักของลูกค้ารายย่อย มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง หนุนโดยเงินฝาก ME Save เพิ่มขึ้น 4.8 %  TMB All Free ขยายตัว 3.3 %  และเงินฝาก
No-Fixed เพิ่มขึ้น 1.7 %

ณ สิ้นเดือนมิ.ย 2562 พอร์ตรายย่อยรวมอยู่ที่ 6.80 แสนล้านบาท ลดลงจาก 6.86 แสนล้านบาทปีก่อน สินเชื่อชะลอตัว ส่วนใหญ่เกิดจากการชำระคืนของลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และ การปรับปรุงคุณภาพพอร์ตสินเชื่อในกลุ่ม SME ขนาดกลาง

กลุ่มลูกค้ารายย่อยยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก โดยสินเชื่อรายย่อยขยายตัวร้อยละ 6.4 มาจากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งเพิ่มขึ้น  7.7 %  ส่วนสินเชื่อลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ลดลง 5.8 %   สินเชื่อ SME ขนาดกลางลดลงเช่นกัน เนื่องจาก การปรับปรุงพอร์ต SME อย่างต่อเนื่อง ขณะที่สินเชื่อ SME ขนาดเล็ก ชะลอตัว 1.2 % จากการปล่อยสินเชื่อ SME ขนาดเล็ก ค่อยเป็นค่อยไป เพื่อเน้นคุณภาพพอร์ต

การเติบโตของรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ช่วยเพิ่มรายได้รวม: ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ย (NIM) ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย อยู่ที่ 2.90 %  ในไตรมาส 2/2562 ส่วนใหญ่มาจากอัตราผลตอบแทนจากสินเชื่อดีขึ้น  ส่งผลให้รายได้ดอกเบี้ย มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีอยู่ที่ 6,344 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1.7 % จากไตรมาสก่อนหน้า

ขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ขยายตัว 11.8 % จากไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ 2,548 ล้านบาท รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ เติบโต 10.8 % ปัจจัยหลักมาจากค่าธรรมเนียมกองทุนรวม ส่งผลให้รายได้รวมจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 4.4 % อยู่ที่ 8,892 ล้านบาท และ 17,409 ล้านบาท  สำหรับ 6 เดือนแรกปีนี้