‘มอร์นิ่งสตาร์’ เผยนักลงทุนทั่วโลกจ่ายค่าธรรมเนียมกองทุนถูกลง

HoonSmart.com>> “มอร์นิ่งสตาร์” เผยผลการศึกษาประสบการณ์การลงทุนทั่วโลก ครั้งที่ 6 พบว่านักลงทุนจ่ายค่าธรรมเนียมลดลงแต่ยังคงมีความแตกต่างในแต่ละตลาด “สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเนเธอร์แลนด์ได้คะแนนในระดับสูงสุด (Top) ด้านค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ด้าน “ไต้หวันและอิตาลี” อยู่ในระดับต่ำสุด (Bottom)

Morningstar, Inc. (Nasdaq: MORN), ผู้ให้บริการบทวิเคราะห์การลงทุนระดับแนวหน้า เปิดเผยข้อมูลในส่วนแรกของผลการศึกษาประสบการณ์การลงทุนทั่วโลก Global Investor Experience (GIE) ที่จัดทำขึ้นทุก ๆ 2 ปี โดยเป็นการให้คะแนนด้านประสบการณ์การลงทุนกองทุนรวมของนักลงทุนใน 26 ตลาดการลงทุนในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา

สำหรับการจัดทำรายงานครั้งที่ 6 นี้ มอร์นิ่งสตาร์จะเปิดเผยข้อมูลการประเมินแต่ละส่วนแยกออกเป็นแต่ละรายงาน – ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย (Fee and Expenses) กฎเกณฑ์และการจัดเก็บภาษี (Regulation and Taxation) การเปิดเผยข้อมูล (Disclosures) และการขาย (Sales) สำหรับรายงานในส่วนแรกคือ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย (Fee and Expenses) เป็นการเปิดเผยข้อมูลการประเมินต้นทุนกองทุนรวมในแต่ละตลาดทั่วโลก

ระดับการให้คะแนนแบ่งออกเป็น Top, Above Average, Average, Below Average, และ Bottom โดยในรอบนี้มอร์นิ่งสตาร์ให้คะแนนประเทศออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกาในระดับ Top ซึ่งหมายความว่าเป็นตลาดที่มีความเป็นมิตรกับนักลงทุนสูงสุดในด้านค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ในทางกลับกันมอร์นิ่งสตาร์ให้คะแนนประเทศอิตาลีและไต้หวันในระดับ Bottom ซึ่งถือเป็นตลาดกองทุนที่มีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายสูง

Grant Kennaway Global Practice Leader of Manager Research และผู้ร่วมเขียนผลการศึกษานี้กล่าวว่า “ผลการศึกษาประสบการณ์การลงทุนทั่วโลกมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นตัวช่วยนักลงทุนโดยส่งเสริมให้เห็นถึงความสำคัญและความโปร่งใสของกองทุนตามแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับกองทุนรวมทั่วโลกในมุมมองของผู้ถือหน่วยลงทุน นับตั้งแต่เราได้ทำรายงานครั้งล่าสุดเมื่อปี 2017 เราเห็นว่าค่าธรรมเนียมกองทุนทั่วโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการสะท้อนแนวโน้มหลัก ๆ ของอุตสาหกรรมเช่น การแข่งขันอย่างเป็นระบบ การเข้ามามีบทบาทของหน่วยงานกำกับดูแล และแนวปฏิบัติที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งทำให้ค่าธรรมเนียมการให้คำแนะนำแยกออกจากค่าธรรมเนียมการขาย”

ข้อมูลระดับคะแนนค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายกองทุนในส่วนแรกสามารถดูได้ที่นี่ ประเด็นสำคัญมีดังนี้

• อัตราส่วนค่าใช้จ่ายกองทุนโดยคิดจากค่ามัธยฐานถ่วงด้วยน้ำหนักมูลค่าทรัพย์สิน (Asset-weighted median expense ratio) สำหรับกองทุน domestic และ available-for-sale ส่วนใหญ่ใน 26 ตลาดการลงทุนปรับตัวลง ประเทศเนเธอร์แลนด์ลดลงมากที่สุดตามมาด้วยอินเดียและแคนาดา

• อันดับคะแนนสูงสุด (Top) เป็นของสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียและเนเธอร์แลนด์ Economies of Scale และการแข่งขันถือเป็นแรงผลักดันที่ทำให้สหรัฐอเมริกามีคะแนนระดับ Top ตลอดการศึกษาทั้ง 6 ครั้งของรายงาน GIE ทั้งนี้ประเทศออสเตรเลียและเนเธอร์แลนด์ได้คะแนนระดับ Top เป็นปีที่ 3 ติดต่อกันจากกฎเกณฑ์ที่มีประสิทธิภาพที่นำไปสู่ความโปร่งใสของการเก็บค่าธรรมเนียมของทั้ง 2 ประเทศ ในขณะที่การแข่งขันและ economies of scale ช่วยลดค่าใช้จ่ายกองทุนในประเทศออสเตรเลีย

• ไต้หวันและอิตาลีได้คะแนนระดับ Bottom ไต้หวันยังคงได้รับคะแนนระดับต่ำมาอย่างต่อเนื่องในด้านค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายโดยมีกองทุนที่มีต้นทุนสูงสุดเทียบกับตลาดอื่น ๆ ส่วนอิตาลีได้คะแนนระดับ Bottom ซึ่งต่ำลงจากเดิมที่ Below Average จากค่าธรรมเนียมการขายและค่า commission ( แบบ retrocessions) รวมทั้งค่า asset-weighted median ที่สูง

• 13 ประเทศได้คะแนนอยู่ในระดับ Average และ Above Average จากการศึกษาข้อมูลในครั้งนี้สรุปได้ว่าโดยรวมแล้วนักลงทุนมีประสบการณ์การลงทุนที่ดีขึ้นในหลายประเทศจากค่าธรรมเนียมกองทุนที่ลดลงรวมทั้งสามารถซื้อกองทุนได้โดยไม่มีค่าธรรมเนียมการขายหรือ trailing commissions

• หน่วยงานกำกับดูแลในหลายประเทศเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนด้านความโปร่งใสของค่าธรรมเนียมเนื่องจากนโยบายจากรัฐบาลมีส่วนช่วยในการออกเกณฑ์การจัดเก็บภาษีหรือสร้างแรงจูงใจเพื่อประโยชน์ทางภาษีเพื่อรองรับการการออมเงินที่มากขึ้น การเติบโตของตลาดและการออมเงินที่มากขึ้นนั้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมการลงทุนเติบโตอย่างมาก และยังชี้ให้เห็นว่าผู้ลงทุนควรได้ประโยชน์จาก economies of scale ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ประเทศอินเดียได้คะแนนดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ Average จาก Below Average ในปี 2017 ในด้านค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายกองทุน อินเดียถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีค่าใช้จ่ายกองทุนสูงสุด แต่ด้วยการออกเกณฑ์ที่เป็นมิตรกับผู้ลงทุนโดยการห้ามเก็บค่าธรรมเนียมการขายและค่า commission (up-front commissions) และการออกเกณฑ์เพดานในการเก็บค่าธรรมเนียม ส่งผลให้อินเดียมีระดับคะแนนที่ดีขึ้น

Methodology
การศึกษาข้อมูลนี้พิจารณาจากกองทุนเปิดที่เปิดขายโดยทั่วไปหรือกองทุนที่จดทะเบียนเพื่อผู้ลงทุนรายย่อยที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใด การศึกษานี้ใช้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายกองทุนโดยคิดจากค่ามัธยฐานถ่วงด้วยน้ำหนักมูลค่าทรัพย์สินในการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกองทุนทั่วโลก การศึกษานี้ได้รวมถึงคำถามบางส่วนเกี่ยวกับกองทุน exchange-traded fund (ETF) เพื่อประเมินความนิยมการลงทุนกองทุน ETF ในแต่ละตลาด

การศึกษาข้อมูลในปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงโดยรวม representative cost ซึ่งถือเป็นอัตราส่วนค่าใช้จ่ายหลักที่ใช้ในการเปรียบเทียบกองทุนระหว่างภูมิภาคหรือประเทศ วิธีการคำนวณของการศึกษาข้อมูลในปี 2019 มาจาก Representative Cost methodology นอกจากนี้เรายังได้รวมประเทศเม็กซิโกสำหรับการศึกษาข้อมูลในปีนี้ซึ่งเคยได้ระดับ Below Average ในด้านค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายกองทุน