ทำความรู้จัก พ.ร.บ. ทรัพย์อิงสิทธิ (ตอน 1)

HoonSmart.com>> พ.ร.บ.ทรัพย์อิงสิทธิ เอื้อต่างชาติสามารถทำธุรกรรมได้เหมือนโฉนด สามารถโอนสิทธิ หรือจำนอง สามารถนำมาใช้เป็นหลักประกันตามกฎหมายได้เพื่อกระตุ้นแรงซื้อต่างชาติได้เป็นอย่างดี ผลบังคับใช้ตั้งแต่ 27 ต.ค.2562

ทำความรู้จัก พ.ร.บ.ทรัพย์อิงสิทธิ  (ตอน 1)

พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)  ทรัพย์อิงสิทธิ  ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 27 ต.ค.2562 ที่ผ่านมาสดๆ ร้อนๆ ใครที่ได้ยินแล้วคงจะงง!!! และสงสัย ทรัพย์อิงสิทธิอะไร อิงสิทธิกับใคร  ให้สิทธิใคร โอ๊ย !!! ฟังแล้วปวดขมับ

อย่าเพิ่ง ปวดหัวกันซะก่อน

มาดูคำนิยาม พ.ร.บ.ทรัพย์อิงสิทธิ   คืออะไรกันก่อน

ทรัพย์อิงสิทธิ หมายถึง “ ทรัพย์สินที่อิงจากสิทธิการใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ สามารถก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิ และผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิสามารถใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น

อ่านแล้วก็ยังไม่เข้าใจ ไม่เป็นไร ค่อยๆ ทำความเข้าใจกันไป

แล้วพ.ร.บ.นี้ ออกมาเพื่อใคร ???   

มาเริ่มทำความเข้าใจกันทีละขั้นตอน พร้อมๆ กันเลย

ปกติแล้ว กฎหมายไทย ไม่ให้ต่างชาติถือครองที่ดิน เช่นการซื้อบ้านเดี่ยว แต่ให้สิทธิซื้ออสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นคอนโดมิเนียม เพียง 49% ของพื้นที่โครงการ หรือ 49 ยูนิต เท่านั้น

แล้วถ้าจะซื้อทั้ง 100 % ล่ะทำยังไง ????

ที่เหลือ 51%  ต่างชาติต้องซื้อเป็นลีสโฮลด์  (Lease  hold)  ซึ่งลีสโฮลด์ที่ว่านี้ก็คือ คนซื้อไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ ง่ายๆ ก็คือ การเช่า เซ้ง ครบสัญญาแล้วจบกัน ผิดกับ ฟรีโฮลด์ (Free hold) ซื้อแล้วโอนกรรมสิทธิ์เป็นของผู้ซื้อ

สิทธิการซื้อแบบลีสโฮลด์ ต่างชาติ นำสิทธินี้ ไปทำธุรกรรมสัญญาใดๆ  ไม่ได้เลย  เป็นเพียงผู้เช่าอาศัยเท่านั้น  เพราะสิทธิการครอบครอง ยังเป็นของผู้ขาย หรือเจ้าของโครงการ

พูดง่าย ๆ ก็คือ ลีสโฮลด์ เป็นสิทธิที่ไม่มีตัวตน ไม่เป็นอสังหาฯ ไม่เป็นทรัพย์ ค้ำประกันไม่ได้ นำสิทธิไปกู้ต่อก็ไม่ได้

เมื่อพ.ร.บ.ทรัพย์อิงสิทธินี้ออกมา ใครได้ประโยชน์ ว่ากันว่า เพื่อกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ให้กับต่างชาติ ได้ อย่างดี เพราะต่อไปนี้ การถือสิทธิลิสโฮลด์  ไม่ใช่แค่การเซ้ง หรือเช่าต่อไปอีกแล้ว  แต่เอกสารสิทธิลิสโฮลด์  ที่ต่างชาติถืออยู่ทำธุรกรรม ทุกอย่างได้เหมือนถือโฉนด ไปกู้ ไปค้ำประกันฯ ได้  เพิ่มสิทธิประโยชน์จูงใจให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนอสังหาฯ ไทยมากขึ้น ในเมื่อแก้กฎหมายการถือเกิน 49% ของต่างชาติไม่ได้ พ.ร.บ.ทรัพย์อิงสิทธิ์นี้ จึงเอื้อและกระตุ้นแรงซื้อต่างชาติได้เป็นอย่างดี

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ รองอธิปดี กรมพัฒนาธุรกิจการค้า อธิบายเพิ่มเติมว่า  เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ สามารถก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิ และผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิสามารถใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น”

“โดยมีหนังสือแสดงสิทธิ ทำให้เกิดความคล่องตัวและหมุนเวียนเปลี่ยนมือได้ง่ายยิ่งขึ้น สามารถโอนสิทธิ หรือจำนอง หรือนำมาใช้เป็นหลักประกันตามกฎหมายได้ จึงสร้างแรงจูงใจ และความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนหรือผู้ประกอบธุรกิจในการใช้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ได้สะดวกและคล่องตัวยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งเสริมและขยายโอกาสในการใช้ประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างเต็มที่”

ประเด็นน่าสนใจของ พ.ร.บ. ฉบับนี้  ส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีฐานหลักเป็นลูกค้าต่างชาติคือ สิทธิสามารถปล่อยเช่า เปลี่ยนโอน และใช้อสังหาริมทรัพย์ ไปเป็นหลักประกันหนี้ด้วยการจำนอง ค้ำประกัน ฯ