BAM ชวนนักลงทุน มาร่วมสร้างความสำเร็จด้วยกัน

HoonSmart.com>> รายงานพิเศษ… วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2562 เวลา 14.30-16.30 น. ขอเชิญชวนนักลงทุนและประชาชนทั่วไปมาพบกันที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM จะมีการนำเสนอข้อมูลการเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 1,765 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 5 บาท ประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ ด้วยวิธีสุมเลือก ทุกคนมีสิทธิได้รับการจัดสรรหุ้นเท่าเทียมกัน และบริษัทมีปัจจัยพื้นฐานที่น่าสนใจ…

เวทีนี้ นอกจากจะได้รับฟังข้อมูลปัจจัยพื้นฐานของบริษัท พร้อมยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนธุรกิจและโอกาสในการเติบโตในระยะยาวแล้ว ยังสามารถสอบถามข้อมูลอย่างละเอียดจากผู้บริหารถึง 4 คนและตัวแทนที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

ที่สำคัญ ทุกคนมีโอกาสที่จะได้เป็นเจ้าของหุ้น BAM อย่างเท่าเทียมกัน

บริษัทและกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ 99.99% จะกระจายหุ้นให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสเป็นเจ้าของอย่างทั่วถึง ไม่มีการจัดสรรให้แก่ผู้มีอุปการคุณ หรือลูกค้าของบล.กสิกรไทย และบล.ทรีนีตี้ ที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายในประเทศ รวมถึงตัวแทนจำหน่าย คือ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงไทย ซึ่งจะต้องจองหุ้นผ่านกระบวนการสุ่มเลือก(แรนดอม) ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัท เซ็ทเทรด ดอท คอม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น

ทั้งนี้มีหุ้นส่วนหนึ่งเสนอขายให้กับนักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งมีการจัดโรดโชว์นำเสนอข้อมูล ที่ ฮ่องกง สิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เบื้องต้นได้รับการตอบรับที่ดี

นักลงทุนควรจะมาฟังจุดเด่นของหุ้น BAM ก่อนตัดสินใจลงทุน

BAM เป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ มูลค่าทรัพย์สินมากกว่า 1 แสนล้านบาท มีแหล่งเงินทุนที่หลากหลาย มีพันธมิตรสนับสนุนทั้งเงินทุนให้กับลูกค้าและเสริมสภาพคล่องให้บริษัทในการซื้อหรือโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ(NPLs) และทรัพย์สินรอการขาย (NPAs) จากสถาบันการเงิน เพื่อนำมาบริหารหรือจำหน่ายจ่ายโอนต่อไป

บริษัทมีประสบการณ์ยาวนานกว่า 20 ปี มีผู้บริหารและทีมงานสะสมองค์ความรู้ที่สามารถใช้ได้กับทุกสถานการณ์ และผลงานที่ผ่านมายังได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาลในการให้ซื้อทรัพย์สินและควบรวมกับบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) ทำให้ BAM มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ รูปแบบธุรกิจยังสามารถสร้างโอกาสโตในทุกภาวะเศรษฐกิจ ในช่วงชะลอตัว สถาบันการเงินจะมี NPLs มากขึ้น บริษัทฯ สามารถเลือกซื้อของได้ในราคาต่ำ ในช่วงเศรษฐกิจแข็งแกร่ง ลูกหนี้ มีศักยภาพในการชำระหนี้ ลูกค้ามีกำลังซื้อทรัพย์สิน ในที่สุดสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับบริษัท

บริษัทได้ NPLs และ NPAs มาจะรีบบริหาร เพื่อหมุนเป็นเงินสดให้เร็วที่สุด ใช้วิธีการเชิญลูกหนี้เข้ามาเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อหาข้อยุติที่ได้รับผลประโยชน์สูงสุดร่วมกันทั้งสองฝ่าย แม้ว่าหนี้จะอยู่ในกระบวนการทางคดีก็ตาม เพื่อช่วยให้ลูกหนี้กลับคืนสู่ระบบเศรษฐกิจตามปกติได้ต่อไป

“NPLsที่บริษัทฯ ซื้อหรือรับโอนมาส่วนใหญ่มีหลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้จดทะเบียนจำนองลำดับที่หนึ่งแก่บริษัทฯ ลงบัญชีเป็นเงินให้สินเชื่อจากการซื้อลูกหนี้ในราคาทุน ส่วน NPAs ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่นที่ดินเปล่า โรงแรม บ้านเดี่ยว ทาวเฮ้าส์ ก็นำมาบริหารครบวงจร พัฒนาปรับปรุงสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพย์มือสอง ให้มีสภาพดีพร้อมอยู่พร้อมใช้ประโยชน์ ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น เพื่อให้ สามารถขายออกได้เร็วขึ้น”

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ มีกำไรสุทธิต่อเนื่องปีละกว่า 4,500 ล้านบาท มีสินทรัพย์เติบโตเฉลี่ย 7% ต่อปี มีเครือข่ายทั่วประเทศมากที่สุดรวม 2

6 แห่ง มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ มุ่งเน้นการตลาดแบบดิจิทัล เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหาร NPL และ NPA ได้รวดเร็ว ลูกค้าสามารถดูรายละเอียดของทรัพย์ได้ชัดเจน เป็นการเชื่อมโยงเป้าหมายของบริษัทฯ กับการตอบสนองความต้องการของลูกค้าและสังคมได้อย่างสมดุล

บริษัทมีการจ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จากนโยบายจ่ายไม่น้อยกว่า 40 % ของกำไรสุทธิ กรณีไม่มีความจำเป็นในการใช้เงินลงทุน ขณะที่มีฐานะการเงินมั่นคง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2562 มีกำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรร จำนวน 27,468 ล้านบาท และมีส่วนของผู้ถือหุ้น 42,670 ล้านบาท

แนวโน้มผลการดำเนินงานยังเติบได้อีกมาก นอกจากรูปแบบธุรกิจสร้างโอกาสทุกสภาวะเศรษฐกิจแล้ว ปัจจัยแวดล้อมยังเอื้ออำนวยอีกมาก เช่น การนำเกณฑ์มาตรฐานบัญชีใหม่ การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 (IFRS 9) มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2563 ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ต้องกันสำรองเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับคุณภาพสินเชื่อที่อาจจะด้อยลง จึงจำเป็นต้องขาย NPLs และ NPAs ออกมา เพื่อลดภาระสำรอง ไม่ให้ผลกระทบต่อกำไร เพิ่มโอกาสในการประมูลหนี้ของ BAM นอกจากนี้ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ก็จะทำให้เกิด NPLs และ NPAs เพิ่มขึ้น

ภายหลังจาก BAM เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว นอกจากนำเงินไปชำระหนี้เพื่อลดภาระดอกเบี้ย ยังจะมีเงินทุนส่วนหนึ่งในการร่วมประมูลทรัพย์สินด้อยคุณภาพ เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ช่วยทำให้ราคาซื้อขายดีขึ้น ลดภาระลูกหนี้ในการผ่อนชำระต่อ หรือมีความสามารถในการซื้อทรัพย์สินกลับมาเป็นเจ้าของบ้าน บริษัทเน้นการบริหารมุ่งสู่ความยั่งยืน ซึ่งมีส่วนร่วมในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมไทยในระยะยาว

สำหรับผู้ที่สนใจรับฟังสามารถลงทะเบียน ได้ที่ http://investor.bam.co.th/th/roadshow