สาธิต บวรสันติสุทธิ์

คอลัมน์ความจริงความคิด : องค์ประกอบในการกำหนดราคาเบี้ยประกัน

เห็นข่าวยอดขายประกันชีวิตปรับตัวดีขึ้นสวนทางกับภาวะเศรษฐกิจ ก็ดีใจ แต่ขณะเดียวกันข่าวบริษัทประกันบางแห่งฟ้อง เลขา คปภ.ข้อหา ออกคำสั่งทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณี คำสั่งห้ามยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย โควิด – 19 เจอจ่ายจบ ซึ่งจะมีผลกับผู้เอาประกันหรือผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัยโควิดเจอจ่ายจบที่มีอยู่ถึงเกือบ 10 ล้านฉบับที่จะทยอยหมดอายุความคุ้มครองสิ้นสุดลงในเดือนมิ.ย.ปีนี้

ความจริงความคิด : ภาษี crypto

เรื่อง hot hit ในสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจาก January effect แบบหลอกให้ดีใจแค่ 2 วัน ก็น่าจะเป็นเรื่องภาษี crypto ที่สรรพากรออกมาให้ความกระจ่างว่าจะเก็บภาษีอย่างไร และกรอกแบบ ภงด. จะกรอกอย่างไร (แบบ ภงด. 90 ปีนี้ มีช่องให้กรอกเงินได้จากการลงทุนใน crypto แล้วนะ

ความจริงความคิด : January Effect ที่ไม่เกี่ยวกับหุ้น

ผ่านปลายปีไปแล้ว น่าจะซื้อ RMF, SSF กันทันนะ ถ้าหากปลายปีเป็นช่วงเทศกาลภาษี แล้วต้นปีก็จะเป็นช่วงเทศกาลอะไรเอ่ย? ใช่ช่วง January Effect ป่าว หลายคนคาดหวังว่าช่วงเดือนมกราคม หุ้นน่าจะขึ้น คาดกันไปมากๆ หลายคนเลยซื้อดักตั้งแต่ปลายปี เพื่อมาขายแพงตอนเดือนมกราคมซะเลย เมื่อมีคนคิดอย่างนี้มากๆ January Effect ก็เลยคลายความขลังไปเยอะ

ความจริงความคิด : สิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้ในกระบวนการยุติธรรม ตอน 2

เรื่องที่สาม ทำไมควรไปศาล? การไปศาลเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานเพื่อให้ประชาชนมีพื้นที่ปลอดภัยที่จะต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมให้กับตัวเอง และเป็นการแสดงเจตนาว่า เราขอชี้แจงเหตุผลที่ไม่สามารถชำระหนี้ตามข้อเสนอของเจ้าหนี้ได้ ซึ่งศาลจะพิจารณาเหตุผลความจำเป็น-บริบทแวดล้อม รวมทั้งสถานะการเงินตามหลักฐานที่นำมายืนยันในชั้นศาล และหากลูกหนี้พอมีเงินอยู่บ้างก็สามารถเจรจาต่อรองการชำระหนี้ในชั้นศาลได้ ซึ่งอาจทำให้ลูกหนี้ได้ลดทอนต้นเงินกู้และดอกเบี้ยได้ รวมถึงต่อรองค่าธรรมเนียมได้ด้วย

ความจริงความคิด : สิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้ในกระบวนการยุติธรรม ตอน 1

วันก่อนได้คุยกับเพื่อนคนหนึ่งซึ่งก็ได้รับผลกระทบจาก Covid ทำให้รายได้ที่มีอยู่ลดหายไป แต่ที่ไม่หายกลับโตขึ้น ก็คือ ภาระหนี้ จนต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ขึ้นโรงขึ้นศาล แต่เพื่อนผมก็เป็นลูกหนี้ที่ดีพร้อมรับคำตัดสินใจ และจะพยายามอย่างเต็มความสามารถในการชำระหนี้ คำว่า “ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย” ไม่มีในหัวเลย แต่สิ่งที่เพื่อนผมหรือคนเป็นหนี้ทั้งหลายคงอยากรู้กันมาก ก็คือ เมื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว อนาคตจะเป็นอย่างไรบ้าง

ความจริงความคิด :10 กลโกงซื้อขายออนไลน์แห่งปี 64 รู้ไว้! จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อโจรไซเบอร์ 2

หลายครั้งก็ท้อใจกับสังคมไทยเหมือนกัน ทั้งที่ในช่วงวิกฤติโควิด ทุกคนเดือดร้อนเหมือนกัน แต่ทำไมแทนที่จะเห็นใจกัน ช่วยเหลือกัน กลับมาทำร้ายกัน โกงกัน หลอกลวงกัน จนทำให้หลายคนต้องเสียทรัพย์สินที่หามาตลอดชีวิต บางคนเสียอนาคต บางคนเสียชีวิต แต่แทนที่จะเริ่มสำนึก กลับหลอกลวงกันมากขึ้น วิธีที่ดีที่สุดสำหรับเรา ก็คือ การรู้ทันคนโกง ทำนอง “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง”

เผย 10 กลโกงซื้อขายออนไลน์แห่งปี 64 รู้ไว้! จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อโจรไซเบอร์ 1

เมื่อการทำธุรกรรมออนไลน์ได้รับความนิยมมากขึ้น กลโกงทางออนไลน์ก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้ จากการรับเรื่องร้องเรียนผ่าน ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ (1212 Online Complaint Center หรือ 1212 OCC) ภายใต้ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ในปี 2564 ตั้งแต่เดือนมกราคม– เดือนสิงหาคม 2564 มีผู้ร้องเรียนเฉพาะเรื่องซื้อขายออนไลน์เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉลี่ย 2,221 ครั้งต่อเดือน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่เฉลี่ย 1,718 ครั้งต่อเดือน และยังนับเป็นสถิติเฉลี่ยต่อเดือนสูงสุดตั้งแต่เปิดดำเนินการศูนย์ฯ มาตั้งแต่ปี 2558 เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้คนไทยหันมาจับจ่ายผ่านออนไลน์สูงขึ้น ขณะเดียวกันร้านค้าต่าง ๆ ก็หันมาเปิดขายบนออนไลน์เช่นกัน

ความจริงความคิด : สิทธิรักษาพยาบาลบัตรทอง กับ ประกันสังคม

สำหรับคนที่จะเกษียณอายุในปลายปีนี้ ลาออกจากงาน หรือ ถูกเลิกจ้าง (ไม่ว่าจะเป็นเพราะโควิดหรือไม่ก็ตาม) ทำให้ต้องสิ้นสุดสมาชิกประกันสังคมมาตรา 33 ซึ่งหมายถึงไม่มีสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลจากประกันสังคมอีกต่อไป เว้นแต่เลือกต่อสมาชิกประกันสังคมมาตรา 39 เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลไว้ โดยต้องเลือกที่จะส่งต่อประกันสังคมมาตรา 39 ภายใน 6 เดือนนับจากวันที่ออกจากงาน โดยในกรณีนี้ ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบจำนวน 432 บาทต่อเดือน (9% บนฐานเงินเดือนที่ใช้คำนวณเงินสมทบที่ 4,800 บาท) ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ประกันตนจะยังคงสิทธิรักษาพยาบาล รวมถึงสิทธิประโยชน์ตามประกันสังคมอื่น ๆ (ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และเสียชีวิต)

ความจริงความคิด : อย่ากินเหยื่อที่เขาล่อ Phishing กลโกงออนไลน์ ตอนที่ 3

คุยกันครบ 8 แบบ phishing ที่ควรรู้หรือพูดง่ายๆว่าที่เรามีโอกาสเจอสูง อาจทำให้หลายคนเครียด กลัว ไม่เชื่อใจใครอีกต่อไป แต่ก็จริงนะในยุคปัจจุบัน การเชื่อใจใครง่ายเกินไปสุดท้ายอาจทำร้ายตัวเราเองก็เป็นไปได้ บางคนถึงกลับไม่กล้าทำธุรกรรมอะไรเลย ซึ่งก็อาจเป็นผลเสียเช่นกัน วิธีที่ดีที่สุด คือ การทำธุรกรรมด้วยความระมัดระวัง สังเกตว่าข้อความ หรือ Email ที่เราได้รับอันไหนเป็น phishing

ความจริงความคิด : อย่ากินเหยื่อที่เขาล่อ Phishing กลโกงออนไลน์ ตอน 2

เพิ่งเขียนเกี่ยวกับ phishing ไปว่ามักจะมีการแอบอ้างเป็นเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ เช่น เว็บไซต์ธนาคาร ฯลฯ มาวันนี้ก็เจอ phishing ที่มาจากหน่วยงานที่คาดไม่ถึงอย่างเช่น ไปรษณีย์ เพราะไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องการเงินของเรา ส่วนมิจฉาชีพจะแอบอ้างไปรษณีย์หลอกเงินหรือข้อมูลเราอย่างไร เดี๋ยวเราจะคุยกันครับ

1 8 9 10 11 12 28