สาธิต บวรสันติสุทธิ์

ความจริงความคิด : สัญญาณอันตราย เมื่อกระแสเงินสดเข้าน้อยกว่ากระแสเงินสดจ่าย

วันก่อนไปบรรยายที่บริษัทประกันแห่งหนึ่ง เรื่องที่คุยทักทายกัน ก็ยังเป็นเรื่องเดิมคือ “พี่ติดโควิดบ้างป่าว” “ตอนนี้น่าจะดีขึ้นแล้วเนอะ” ก็เข้าใจคนที่ถามนะ เพราะโควิดที่ผ่านมา มันน่ากลัวจริงๆ ทำเอาหลายคนต้องเสียชีวิต หลายคนต้องตกงาน หลายครอบครัวต้องแตกแยก และหลายคนเลยแม้จะรอดมาได้ ฯลฯ แม้วันนี้ประเทศกลับไปเกือบเหมือนเดิมก่อนโควิดแต่ก็ยังต้องอยู่กับผลของโควิดอยู่ ส่วนใหญ่ก็คือ ภาระหนี้สินที่ถูกซ้ำเติมให้หนักมากยิ่งขึ้นจากรายได้ลด แต่รายจ่ายไม่ลดกลับเพิ่มขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อ แถมภาระหนี้ก็กระทืบซ้ำเพิ่มขึ้นตามภาวะดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับสูงขึ้น เป็นไปตามกฎของ Murphy เลย คือ “ในภาวะที่เลวร้ายที่สุด สิ่งที่เลวร้ายกว่านั้นมักจะเกิดขึ้นเสมอ”

ความจริงความคิด : ทักษะทางการเงิน

จากประสบการณ์เป็นที่ปรึกษาการเงินมาตลอดชีวิต สิ่งที่แปลกมากๆสำหรับเมืองไทยที่พบเจอ ก็คือ เราเรียนกันหนักมาก และก็จบมหาวิทยาลัยกันเยอะมาก และหลายคนก็ทำงานหาเงินกันเก่งมาก แต่ที่ว่าแปลกก็คือ ส่วนใหญ่บริหารจัดการเงินไม่เป็น ไม่ใช่หมายถึงไม่มีความรู้ทางการเงิน เช่น วิเคราะห์หุ้น ฯลฯ นะ แต่เป็นความรู้พื้นฐาน หรือ ที่เรียกง่ายๆว่า ทักษะทางการเงิน (financial literacy) ทำให้หลายคนเป็นหนี้ แม้จะมีรายได้เยอะ หลายคนต้องเสียอนาคค เสียทรัพย์สินที่สะสมมาตลอดชีวิต ก็เพราะขาด ทักษะทางการเงิน ตัวนี้

ความจริงความคิด : การวางแผนภาษีด้วยการบริจาคแบบจ่าย 1 ได้ 2

ใกล้ปลายปี ก็ต้องคุยเรื่องภาษี เพราะเดี๋ยวทำไม่ทัน จะเสียประโยชน์ไป อย่างเช่น หากเราต้องการลดหย่อนภาษี RMF, SSF เราแจ้งความประสงค์กับบริษัทจัดการลงทุนเพื่อขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับค่าซื้อ RMF, SSF ประจำปี 2565 ตามเงื่อนไขใหม่ของสรรพากรต้องแจ้งภายใน 31 ธันวาคม 2565!! เท่านั้น

ความจริงความคิด : การวางแผนภาษีสำหรับ SMEs ตอน 1

อีก 2 เดือนก็จะสิ้นปีกันแล้ว แม้จะเป็นปีที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่ถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆ ก็ถือว่าเรายังดีกว่าค่าเฉลี่ยนะ และเมื่อใกล้สิ้นปีสิ่งที่เราต้องอย่าลืมที่จะวางแผน ก็คือ การวางแผนภาษีซึ่งต้องทำให้เสร็จภายในสิ้นปี ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือน freelance หรือเจ้าของธุรกิจก็มักจะเริ่มหาซื้อประกันชีวิต ประกันบำนาญ RMF SSF เพื่อไปลดหย่อนภาษี แต่สำหรับธุรกิจพวก SMEs

ความจริงความคิด : อดเปรี้ยวไว้กินหวาน

หลังจากเสร็จงานบรรยายพิเศษให้กับทางมหาวิทยาลัยมหิดลเมื่อสิ้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ก็ถึงคิวต้องเขียนงานที่ค้างไว้กับสำนักพิมพ์ แต่อย่างว่านะเหนื่อยมานาน ขอพักบ้าง พักไปพักมา เลยชักขี้เกียจติดซีรี่ย์เกาหลีไปเลย จะลุกขึ้นมาเขียน รู้สึกมันยากเหลือเกิน สงสัยเป็นไปตามหลักการของทฤษฎี 21 วัน ที่ว่า เราสามารถเปลี่ยนนิสัยเราได้โดยการทำพฤติกรรมที่จะอยากจะเปลี่ยนซ้ำๆ ติดต่อกันเป็นเวลา 21 วัน หากทำได้ ว่ากันว่า พฤติกรรมนั้นจะกลายมาเป็นนิสัยใหม่ไปโดยปริยาย

ความจริงความคิด : จิตวิทยาของการให้ของขวัญ

ใกล้สิ้นปีกันแล้ว ก็ถึงฤดูกาลที่ต้องเตรียมหาของขวัญให้คนที่รัก และ นับถือ จำได้เหมือนกันตอนที่ทำงานอยู่ การหาของขวัญให้ถูกใจคนรับเป็นภาระมากเหลือเกิน จะถามก็ไม่ได้ถ้าไม่สนิทกันจริงๆ อีกอย่างกลัวเค้าบอกที่อยากได้มา แต่มันเกินงบ ไม่ให้ก็ไม่ได้ จะให้ก็เกินงบ เลยตัดสินใจไม่ถามดีกว่า สรุปง่ายๆเข้าข้างตัวเอง ความเสี่ยงอยู่ที่คนรับ ไม่ใช่เรา แต่จริงๆความเสี่ยงอยู่ที่เรานะ ถ้าเราให้ของที่คนรับไม่อยากได้ ความประทับใจก็ไม่เกิด อย่างเช่น จะจีบสาว แต่ให้ของขวัญไม่ถูกใจ สาวอาจเลิกคบก็เป็นไปได้

ความจริงความคิด : กู้ร่วม

ในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว (หรือถดถอย?) แถมดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น ทำให้การขอกู้เงินจากสถาบันการเงินยากขึ้นไปอีก เพราะสถาบันการเงินเองก็กลัวหนี้เสีย เมื่อเราจำเป็นต้องกู้จะทำยังไงดีที่จะกู้ได้ การกู้ร่วมก็เป็นทางออกที่น่าสนใจทางหนี่ง เราลองมาดูกันนะว่า “กู้ร่วม” ดียังไง เงื่อนไขทางกฎหมายมีอะไรบ้าง

ความจริงความคิด : อยากเป็นคนดี แต่กลัวโดนภาษี

HoonSmart.com>> ใกล้สิ้นปีนอกจากเรื่องเกษียณแล้ว อีกเรื่องที่คนสนใจกันมากก็คือ เรื่องภาษี ยิ่งช่วงนี้สรรพากรก็ขยันมากเหลือเกิน (ทีหน่วยงานที่ควรขยันกลับไม่ขยัน น่าจะขอดูงานสรรพากรบ้างนะ) อย่างเช่น การขอลดหย่อน RMF, SSF ปีนี้ สรรพากรจะใช้ข้อมูลจากบริษัทจัดการเหมือนลดหย่อนประกันชีวิตเลย ดังนั้นใครที่ซื้อ RMF, SSF เอาไว้อย่าลืมแจ้งความประสงค์การนำส่งและเปิดเผยข้อมูลการลงทุนในกองทุน SSF/RMF ต่อกรมสรรพากร เพื่อใช้เป็นสิทธิลดหย่อนภาษีประจำปี 2565

1 4 5 6 7 8 28